การตรวจสอบคาปาซิเตอร์แรงต่ำ
เมื่อต้องการตรวจสอบคาปาซิเตอร์ทั้งที่เป็นการตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษา หรือว่าต้องการตรวจสอบเนื่องจากมีปัญหาในการใช้งาน เราอาจมีการตรวจสอบ ดังนี้
การตรวจสอบสภาพทั่วไป
เป็นการตรวจสอบลักษณะภายนอกซึ่งเป็นส่วนประกอบต่างๆของคาปาซิเตอร์ ดังนี้
ตัวถัง
ถ้าปรากฏว่ามีตัวถังบวมหรือแตกและมีรอยไหม้หรือมีสีเปลี่ยนจากเดิม แสดงว่าคาปาซิเตอร์เกิดความผิดปกติขึ้นภายใน
ขั้วต่อสาย
ตรวจดูขั้วต่อสายซึ่งเป็นจุดต่อว่าหลวมหรือสกปรกหรือไม่ การที่ขั้วหลวมหรือหน้าสัมผัสสกปรกจะทำให้กระแสไหลผ่านไม่สะดวก เกิดความร้อนสะสมอาจทำให้คาปาซิเตอร์ชำรุดเนื่องจากความร้อนสะสม ถ้าพบกรณีดังกล่าวควรทำสะอาดจุดสัมผัสอาจใช้คอมเปาด์ทาช่วยให้จุดสัมผัส สะอาดและนำกระแสไฟฟ้าได้ดีขึ้น และการขันจุดต่อตรงขั้วสายให้แน่น โดยใช้แรงบิด (Torque) ตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต
การตรวจสอบค่าทางไฟฟ้า
เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์ ซึ่งมีการตรวจสอบ ดังนี้
- การตรวจสอบค่าความเป็นฉนวน
- การตรวจสอบค่ากระแสคาปาซิเตอร์
- การตรวจสอบค่าคาปาซิแตนซ์
วิธีการตรวจสอบจะต้องทำโดยปลดคาปาซิเตอร์ออกจากระบบ รอเวลาให้คาปาซิเตอร์คายประจุประมาณ 5 นาที แล้วทำการตรวจสอบโดยใช้ เมกกะโอมห์ที่แรงดันขนาด 500 VDC แล้วทำการทดสอบระหว่างขั้วของคาปาซิเตอร์กับตัวถังคาปาซิเตอร์แรงต่ำชนิด SELF HEALING TYPE ควรมีค่าความเป็นฉนวนไม่เกิน 1 เมกกะโอห์ม
การตรวจสอบค่ากระแสคาปาซิเตอร์
วิธีการตรวจสอบชนิดนี้ทำโดยวัดค่ากระแสคาปาซิเตอร์ขณะใช้งาน โดยแอมป์มิเตอร์ ชนิดแคลมป์มิเตอร์นำไปคล้องกับสายเฟสของคาปาซิเตอร์ ค่าที่อ่านได้จะเป็นกระแสเฟสของคาปาซิเตอร์ โดยสามารถคำนวณกระแสของคาปาซิเตอร์ปกติได้ เช่น ถ้าเป็นคาปาซิเตอร์แบบ 3 เฟส แรงดัน 400 V จะคำนวณกระแสได้จากสูตร
หรือถ้าเป็นคาปาซิเตอร์แบบ 1เฟส แรงดัน 220 V จะใช้สูตร
ค่า แรงดันเป็นค่าแรงดันจริงของระบบขณะวัด ส่วนค่า kVAr อ่านได้จากเนมเพท ค่ากระแสที่อ่านได้จะมีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง -5% ถึง10% ของค่าที่คำนวณได้เป็นคาปาซิเตอร์ใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งาน ถ้าค่าที่อ่านได้มีค่าต่ำแสดงว่าคาปาซิเตอร์ มีการเสื่อมสภาพมากจนค่า PF ของระบบต่ำกว่าที่ต้องการจึงควรเปลี่ยนใหม่ ถ้าที่ค่าอ่านได้มีค่าสูงกว่าค่าที่คำนวณแสดงว่า เกิดโอเวอร์โหลดที่สามารถทำให้ค่าคาปาซิเตอร์เสื่อมเร็วกว่าปกติได้ ควรหาสาเหตุให้พบแล้วทำการแก้ไข ตัวอย่างของสาเหตุที่เกิดการโอเวอร์โหลดคือ มีปัญหาฮาร์มอนิกหรือแรงดันระบบสูงเกินพิกัดของคาปาซิเตอร์
หมายเหตุ เนื่องจากการตรวจสอบกระแสจะต้องทำการวัดค่าขณะคาปาซิเตอร์ใช้งานอยู่ ซึ่งต้องระมัดระวังอันตรายจากไฟฟ้า ดูดโดยสวมถุงมือป้องกันไฟทุกครั้ง และวิธีการแคล้มป์มิเตอร์นี้ห้ามใช้กับแรงดันเกินกว่า 600 V เนื่องจากเครื่องมือโดยส่วนใหญ่จะทนแรงดันได้ไม่สูงนัก เพื่อเป็นความปลอดภัยในการวัด
การตรวจสอบค่าคาปาซิแตนซ์
วิธีการวัดค่าคาปาซิเตอรแรงต่ำจะต้องทำการวัดขณะคาปาซิเตอร์ไม่จ่ายไฟและ ต้องดิสชาสต์คาปาซิเตอร์ไม่ให้มีประจุค้าง เหลืออยู่ในคาปาซิเตอร์ โดยอาจวัดแรงดันที่ค้างอยู่ในคาปาซิเตอร์ซึ่งเป็นแรงดันไฟตรง ถ้ามีแรงดันค้างอยู่ควรดิสชาร์จ แรงดันทิ้งโดยใช้กราวด์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้มักเป็นมิเตอร์ที่อ่านค่าคาปาซิแตนซ์ได้ การวัดจะต้องปลดคาปาซิเตอร์ไม่ให้ต่อร่วมกับวงจรอื่นกรณีคาปาซิเตอร์แบบ 3 เฟส จะต้องวัดค่าเฟสต่อเฟส (Phase to Phase or line to line ) เช่น
รวม ทั้ง 3 ค่า ค่าที่อ่านได้จะมีค่าใกล้เคียงกันและมีค่าอยู่ระหว่าง -5% ถึง10% ของค่าพิกัดตามตาราง ตัวอย่าง เมื่อผ่านการใช้งาน ค่าคาปาซิแตนซ์นี้จะมีค่าลดลงเรื่อยๆ ถ้าที่อ่านได้มีค่าต่ำมากจนค่า PF ของระบบต่ำกว่าที่ต้องการ จึงควรเปลี่ยนใหม่
ตารางค่ามาตรฐานกระแส , แรงดันและ ค่าคาปาซิแตนซ์ | |||
ขนาด kVAr | ค่ากระแส Amp | ค่าแรงดัน Volt | ค่าคาปาซิแตนซ์ Microfarad |
15 | 20.9 | 400 | 149.2 |
20 | 27.8 | 400 | 198.9 |
30 | 41.7 | 400 | 298.8 |
50 | 69.6 | 400 | 497.3 |
75 | 104.3 | 400 | 746.0 |
หมายเหตุ : ค่าคาปาซิแตนซ์ ที่คำนวณจากคาปาซิเตอร์แบบแรงต่ำที่ต่อวงจรแบบเดลตา |
เอกสารอ้างอิง
วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol11 / July - September 2002 ; ABB LIMITED